วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

#10 Content Management System


Content Management System


>> Content Management System คืออะไร?
ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์  โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรม Web Server(เช่น Apache) และ Database Server(เช่น MySQL)


>> ลักษณะการทำงานของ Content Management System
การทำงานของ CMS เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการในการทำงานระหว่าง เนื้อหา(Content) ออกจากการ ออกแบบ(Design) โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น


>> องค์ประกอบของ Content Management System
            ระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ หรือ CMS ใดๆ ก็ตาม อย่างน้อยจะต้องมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน จึงจะทำหน้าที่เป็น CMS ได้อย่างสมบูรณ์ นั่นคือ

* เครื่องมือจัดการเนื้อหา (Content Management Application : CMA)
มีหน้าที่จัดการเนื้อหาทุกชนิดบนหน้าเว็บเพจไปตลอดอายุของเนื้อหานั้น เริ่มตั้งแต่การสร้าง การรักษา และการลบทิ้งออกไปจากที่จัดเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นในไฟล์ฐานข้อมูล หรือแยกออกมาเป็นไฟล์ต่างหาก อย่างเช่น รูปประกอบต่างๆ ก็ได้ กระบวนการจัดการเนื้อหาโดยธรรมชาติแล้วจะอยู่ในแบบที่เป็นลำดับขั้นตอนและสำเร็จลงได้ด้วยการทำงานตามลำดับงาน (Workflow) ด้วยเช่นกัน ในส่วนของ CMA ยังช่วยให้นักเขียนของเว็บไซต์ที่ไม่มีความรู้ในภาษา HTML ภาษาสคริปต์ หรือโครงสร้างของเนื้อหาเว็บไซต์ สามารถสร้างเนื้อหาได้โดยง่าย ช่วยให้งานในการสร้างและดูแลเนื้อหาของเว็บไซต์ไม่ต้องการความรู้ระดับของเว็บมาสเตอร์อีกต่อไป การดูแลเนื้อหาของเว็บไซต์ในเวลาหนึ่งๆ อาจจะมีผู้ดูแลเนื้อหาเข้ามาทำงานพร้อมๆ กันหลายๆ คนก็ได้

* เครื่องมือจัดการข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent Management Application : MMA)
ข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent) หรือข้อมูลของข้อมูล (Metadata) เป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลอีกทีหนึ่ง เช่นข้อมูลที่อธิบายว่า เนื้อหา ชิ้นหนึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ โดยใคร ถูกจัดเก็บไว้ที่ไหน ถูกใช้งานบนหน้าเว็บเพจไหน และจัดวางบนหน้าเว็บเพจนั้นอย่างไร เป็นต้น การจัดการข้อมูลของเนื้อหายังช่วยให้การควบคุมเวอร์ชั่นของชิ้นส่วนเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย MMA เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับจัดการวงจรทั้งหมดของ Metacontent เช่นเดียวกันกับ CMA ที่จัดการกับวงจรชีวิตของเนื้อหาเว็บไซต์ (Content) ทั้งหมดนั้นเอง

* เครื่องมือนำเสนอเนื้อหา (Content Delevery Application : CDA)
มีหน้าที่ดึงชิ้นส่วนเนื้อหา ออกมาจากที่เก็บ และจัดเรียงลงบนหน้าเว็บเพจด้วยรายละเอียดจาก MMA เพื่อนำเสนอต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งาน CMS สร้างเว็บไซต์มักจะไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยวกับ CDA มากนัก นอกจากขั้นตอนการติดตั้งและการกำหนดรูปแบบการแสดงผล หลังจากนั้นก็ปล่อยให้ CDA ทำงานไปตามกระบวนการ นั้นคือ ข้อมูลของเนื้อหา เป็นสิ่งที่บอกต่อ CDA ว่า อะไรคือสิ่งที่จะต้องนำมาแสดง และถูกแสดงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น การจัดวาง สี ช่องว่าง ฟอนต์ ลิงก์ และอื่นๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะได้อย่างยืดหยุ่น โดยการเปลี่ยนเฉพาะในส่วนของข้อมูลเนื้อหา ไม่ต้องไปปรับเปลี่ยนที่ตั้วเนื้อหาโดยตรง คุณสมบัติข้อนี้ทำให้เว็บไซต์สามารถเปลี่ยนดีไซน์ทั้งหมดได้ทั้งกับเนื้อหาที่สร้างมานานแล้ว และกับเนื้อหาที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่ โดยไม่กระทบต่อการทำงานทั้งหมดของเว็บไซต์


>> ข้อดีของ Content Management System
  • ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เคยพิมพ์ หรือเคยโพสข้อความในอินเทอร์เน็ต ก็สามารถมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
  • ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
  • ง่ายต่อการดูแล เพราะมีระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
  • มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย อย่างเช่น ระบบ Gallery
  • สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดทีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ


>> ข้อเสียของ Content Management System
  • ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบทีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปรกติ เนื้องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยาก สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
  • ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่นจะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
  • ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการ Set up ครั้งแรกกับ Web server แต่ปัจจุบันก็มีผู้บริการ Web server มากมายที่เสนอลงและ Set up ระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 เมื่อรวมๆข้อดีและข้อเสียดูแล้ว ก็ยังเห็นได้ว่า CMS นั้นก็เป็นระบบที่น่าใช้งานอยู่ดี


>> การประยุกต์ใช้ Content Management System
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มา
ประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
  • การนำ CMS มาช่วยในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
  • การนำ CMS มาช่วยในหน่วยงานของรัฐบาล อาทิ งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่าง ๆขององค์กร
  • การนำ CMS มาช่วยในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัคคี ทำงานมีการทำงานที่เป็นทีมเวิร์คมากขึ้น
  • การนำ CMS มาช่วยในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ เอสเอ็มอี โดยเฉพาะสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้
  • การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์อื่น ๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและง่ายต่อการพัฒนา
  • การนำ CMS มาช่วยในการทำ เว็บไซต์อินทราเน็ต ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ใช้ภายในองค์กร

>> ซอฟท์แวร์ CMS มีอะไรบ้าง?


Drupal - กล่าวได้ว่าเป็น CMS ตัวแรกที่ตัวเองเป็น framework และมีเอกสารประกอบยอดเยี่ยม ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่นักพัฒนามาเป็นเวลานาน และได้มีการทำโมเดลทางธุรกิจใหม่ โดยแยกส่วนพัฒนาส่วนที่ต้องจ่ายตังค์ ซึ่งคล้ายๆ กับ Mambo สมัยก่อน เวลาเท่านั้นจะพิสูจน์ว่าโมเดลนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เวอร์ชันที่มีการปรับเปลี่ยนเยอะคือเวอร์ชันต่อไปคือ 7 เวอร์ชันปัจจุบันคือ 6.2 ซอฟท์แวร์นี้เหมาะสำหรับ เว็บไซต์ที่ซับซ้อนนั้นมีความยุ่งยากมากกว่า WordPress และ Joomla โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่ามันมี options จำนวนมากให้เลือก เพราะว่ามันสร้างขึ้นให้มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องคิดอย่างรอบคอบ อย่างมีความเข้าใจอย่างเพียงพอ จึงจะสามารถปรับแต่งได้อย่างถูกต้อง



Joomla!ในเวอร์ชัน 1.5 ตัว Joomla! ได้พัฒนาตัวเองเป็น framework ซึ่งสร้างความแตกต่างระหว่าง Mambo กับ Joomla! อย่างชัดเจน เวอร์ชันที่มีการปรับเปลี่ยนเยอะคือเวอร์ชัน 2.0 โดยเวอร์ชันต่อไปคือ 1.6 เวอร์ชันปัจจุบันคือ 1.5.3



WordPress เป็น Open Source CMS ตัวหนึ่งที่มุ่งเน้นในเรื่องของการทำ Web Blog พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GNU (General Public License) WordPress มีการใช้งานที่ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เป็นที่นิยมของบล็อกเกอร์ทั่วโลกรวมทั้งชาวไทยด้วยเช่นกัน มีผู้พัฒนาปลั๊กอิน และธีม (รูปแบบการแสดงผล) ให้เลือกใช้แบบฟรี ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก มีระบบการทำงานตามมาตรฐาน W3C เช่นเดียวกับ Open Source CMS อื่น ๆ WordPress เป็น CMS ตรงไปตรงมา เรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธีมขึ้นมาใหม่ หรือเพิ่มความสามารถอื่นๆที่ระบบเอื้ออำนวยให้ และง่ายที่เราจะหา add-on modules ที่จะเพิ่มฟีเจอร์ให้กับเว็บไซต์ “WordPress เหมาะสำหรับเว็บไซต์อย่างง่าย ที่ดูดี และไม่ต้องการฟีเจอร์อะไรเป็นพิเศษ



 Mambo - ถือเป็น CMS ต้นแบบของ CMS ดัง ๆ หลายตัว เนื่องจากถูกพัฒนามานานแล้วกว่า 8 ปี มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้แล้วกว่า 7 ล้านดาวน์โหลด มีความสามารถและมีความนิยมระดับที่เคยได้รับรางวัล Award-wining content management system มาแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถนำ Mambo มาใช้ทำเว็บไซต์ได้จนถึงพัฒนาเป็น Web Application ครอบคลุมตั้งแต่การทำเว็บไซต์บริษัท/องค์กร เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า เว็บท่า เว็บชุมนุม และระบบอินทราเน็ตภายในองค์กร ทั้งนี้ Mambo สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่เว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงเว็บไซต์องค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งความสามารถของ Mambo ที่มีให้นั้นเพียงพอต่อการนำไปในหลายรูปแบบสำหรับผู้ใช้ทุกระดับ Mambo ถูกพัฒนาขึ้นมาจากภาษร PHP สามารถเพิ่มโปรแกรมเสริมมาใช้ในเว็บของตนเองได้และยังนำไป พัฒนาต่อยอดในรูปแววต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด เนื่องจากไม่มีค่าลิขสิทธิ์การใช้งานทางทีมพัฒนาได้มีการนำ CakePHP ซึ่งเป็น php framework อันโด่งดังมาเป็นฐานในการพัฒนาในเวอร์ชัน 5.0 โดยมีแนวความคิดว่าจะทำให้ทีมพัฒนาสามารถพุ่งความสนใจในการพัฒนาความสามารถของส่วนหลัก ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเสียเวลาไปดูส่วน framework ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ดีมาก แต่คงต้องใช้เวลาอีกนานเพราะเวอร์ชันปัจจุบันคือ 4.6.4 เวอร์ชันถัดไปคือ 4.7 และ 4.8



Typo3 - ทั้ง ๆ ที่ตัว Typo3 เป็น framework ที่มีความสามารถสูงมากอยู่แล้ว แต่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า ทางทีมพัฒนาได้มีการแยกส่วนการพัฒนาเป็น 3 ส่วน คือพัฒนา Typo3 4, Typo3 5 และ Flow3 ซึ่งเป็น php framwork ซึ่งเป็นอิสระกับตัว Typo3 ซึ่งแนวความคิดนี้คล้าย ๆ Mambo แต่ทาง Mambo เลือก framework ที่มีความสามารถสูงที่มีอยู่แล้ว แต่ทาง Typo3 เลือกที่จะพัฒนาขึ้นมาเองใหม่ เพราะ framework ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการนำมาเขียนเป็น CMS หมู่เทพเลยเลือกที่จะเขียนใหม่มันซะเลย และข้อดีของมันที่คาดว่าจะได้อย่างชัดเจนคือทำให้การติดตั้งง่ายขึ้น (ซึ่งแค่นี้ก็พอแล้ว เพราะ Typo3 มีข้อเสียข้อเดียว คือใช้ยาก) ซึ่งเวอร์ชันที่มีการปรับเปลี่ยนคือเวอร์ชัน 5 โดยกำหนดเวลาออกคือ 8/10/2552 เวอร์ชันปัจจุบันคือ 4.2.1



Elgg เป็น Open Source Software ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์แบบ Social Networking พัฒนาด้วยภาษา PHP ใช้ฐานข้อมูล MySQL เช่นเดียวกับ Open Source อื่น ๆ รองรับเทคโนโลยี OpenDD, OpenID และ OpenSocial ผู้ใช้งานหรือสมาชิกของเว็บไซต์ นะมีหน้าบริหารจัดการ Profile ของตัวเองรวมถึงสามารถบริหาร Web Blog, Forum, Photo Gallery และ File Repository เป็นต้น โดยสามารถตั้งค่าการเผยแพร่และให้สิทธิ์ในกาเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้แต่ละส่วนได้ ทั้งนี้ Elgg สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบ Intranet เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารภายในองค์กร




>> แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น