วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Search Engine Optimization Process



Search Engine Optimization (SEO) คืออะไร ?



          การใช้งาน Search Engine โดยทั่วไปเพียงแค่กรอกคำค้นหาหรือที่เรียกว่า Keyword เท่านั้น Search Engine จะไปค้นหาข้อมูลเนื้อหาเว็บเพจที่ถูกจัดเก็บบนฐานข้อมูลโดยจะนำข้อมูลที่ตรงกับ Keyword แสดงเป็นรายชื่อของเว็บเพจเรียงลงมาตามอันดับซึ่ง Search Engine อาจแบ่งรายชื่อเว็บเพจออกเป็น 10 รายชื่อต่อหนึ่งหน้า การจัดเรียงอันดับรายชื่อเว็บเพจนี้ เรียกว่า Rank ซึ่งทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญเพราะนั่นหมายถึงโอกาสที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของแต่ละองค์กรจะสามารถพบและเข้ามาชมเว็บไซต์ได้ โดยถ้าเว็บไซต์ของเราได้รับการจัดอันดับอยู่อันดับต้นๆ อย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมอย่างสม่ำเสมอ (Junghoo Cho,2004)

          อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีเว็บไซต์อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เว็บไซต์ของเราไม่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับต้นๆ และผู้ใช้อาจหาเว็บไซต์ของเราไม่พบซึ่งจะทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้  ดังนั้นแนวทางเทคนิคที่ทำให้เว็บไซต์ถูกแสดงในอันดับต้นๆ ของการค้นหา โดยใช้วิธีที่เรียกว่าการทำ 
Search Engine Optimization (SEO)

          จึงสรุปได้ว่า Search Engine Optimization (SEO) คือ เทคนิคการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้เว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆ (Rank) ของการ แสดงผลจาก SearchEngine


ขั้นตอนของ Search Engine Optimization Process มีด้วยกัน 10 ขั้นตอน คือ




ขั้นตอนที่ 1 : การวิเคราะห์เบื้องต้น (Initial Analysis) 


          กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) เริ่มต้นด้วยการดำเนินการวิเคราะห์เว็บไซต์ในสภาพปัจจุบัน โดยทำการประเมินผลและตรวจสอบตำแหน่งของเว็บไซต์ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization) ให้สามารถทำงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคนิคการปรับแต่งเว็บไซต์ ให้เว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆ 

โดยให้ทำการการวิเคราะห์เบื้องต้น ดังนี้
  • ประเมินผลทางเทคนิคของเว็บไซต์ถึงจุดที่แข็งแกร่งและอ่อนแอของเว็บไซต์ 
  • การวิเคราะห์การจัดทำดัชนีของหน้าเว็บ 
  • การวิเคราะห์การจัดอันดับของเว็บไซต์ในปัจจุบันจากเครื่องมือค้นหาต่างๆ 
  • การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีการป้องกันเว็บไซต์ให้ได้รับการค้นหาในอันดับที่ดี  
  • คำหลักที่ใช้ในการค้นหาเว็บไซต์ 
  • การวิเคราะห์ความเข้ากันได้ของเครื่องมือค้นหากับเว็บไซต์ 
  • การวิเคราะห์โครงสร้างของเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 2 : การวิจัยและวิเคราะห์คำหลัก (Keyword Research and Analysis) 


   การวิจัยและวิเคราะห์คำหลัก (Keyword) เป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) โดยให้ทำการคัดเลือกคำหลักหรือวลีที่เหมาะสม ที่ผู้ใช้งานอาจเลือกใช้ในการค้นหาจากเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการวิจัยและวิเคราะห์คำหลักหรือวลีที่ผู้ใช้งานอาจพิมพ์ไม่ถูกต้อง เพื่อให้คำหลักนั้นสามารถนำไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลของเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine ) แล้วระบุไปยังข้อมูลเป้าหมายได้ ซึ่งจากการวิจัยและวิเคราะห์คำหลัก แล้วทำการคัดเลือกคำหลักที่เหมาะสมนั้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเว็บไซต์ ทั้งในการช่วยลดต้นทุน การเติบโตทางการตลาด และการประสบความสำเร็จในระยะยาว 

โดยการวิเคราะห์นี้ประกอบด้วย
  • แนะนำคำ 
  • การวิจัยเอกสารคำค้นหารายเดือน 
  • ประสิทธิภาพดัชนีของคำหลัก 
  • การจัดลำดับของคำหลักในปัจจุบัน 
  • อัตราผลตอบแทนจากคำหลักแต่ละคำ

ขั้นตอนที่ 3 : การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)


          การวิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) ที่ประสบความสำเร็จ การวิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่งจะบอกให้ทราบถึงทุกอย่างที่เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคู่แข่ง เช่น จำนวนการเชื่อมโยงที่ชี้ไปยังเว็บไซต์ของคู่แข่ง การมองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของเว็บไซต์คู่แข่ง การจัดลำดับของคู่แข่งในปัจจุบันที่ดูได้จากเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) เป็นต้น ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่ง หนึ่งในวิธีการสร้างข้อได้เปรียบ คือ ให้ดูการเชื่อมโยงในเว็บไซต์ของคู่แข่งและใส่เว็บไซต์ของเราไว้ในลิงค์รายการของพันธมิตร โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะได้รับการเชื่อมโยงกลับไปยังเว็บไซต์ของเรา 

          นอกจากนี้ การวิเคราะห์เว็บไซต์ของคู่แข่ง ยังช่วยให้สามารถสร้างความแตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือมีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งอีกด้วย


ขั้นตอนที่ 4 : แผนผังและการรวมตัวดึงข้อมูล (Sitemap + RSS feed Inclusion) 



Sitemap คืออะไร ?


          Sitemap หรือที่เรียกว่า "แผนผังเว็บไซต์" หรือ "แผนที่เว็บไซต์" เป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ที่อธิบายถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ได้ทั้งหมด ซึ่ง Sitemap จะเป็นเหมือน "สารบัญ" หรือ "หน้าดัชนี" ของเว็บไซต์ ที่รวม Link ทั้งหมดของเว็บไซต์ไว้ภายในหน้าเดียว และยังช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine (เช่น Google ,Bring ,Yahoo) และผู้ใช้งานทั่วไปด้วยอีกด้วย 

          ซึ่งการสร้างปฏิสัมพันธ์ของ Sitemap สำหรับ Search Engine นั้น เพื่อให้ Search Engine เข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย และเข้ามาเก็บข้อมูลตาม link ที่จัดทำไว้ให้ โดยข้อดีของการทำ Sitemap คือ 
  • ทำให้ผู้ชมเว็บไซต์เข้าใจโครงสร้างเว็บ และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 
  • ทำให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์เข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ และเห็นภาพรวมของ Link ในเว็บไซต์ ทำให้ง่ายต่อการพัฒนา เนื่องจาก Sitemap จะแบ่งส่วนของเว็บไซต์ ไว้อย่างชัดเจน
  • ทำให้ Bot ของ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูล (index pages) ได้รวดเร็ว และง่ายขึ้น 
  • เป็นส่วนหนึ่งของการทำ SEO (Search Engine Optimization) 

ประเภทของ Sitemap ?

การทำเว็บไซต์ที่ดีควรมี Sitemap ทั้ง 2 รูปแบบ คือ
  1. Sitemap เพื่อให้ Search Engine อ่าน 
  2. Sitemap เพื่อให้ ผู้ใช้งานทั่วไปอ่าน 
          โดยปกติแล้วหากต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อ Search Engine จะต้องทำให้ Sitemap นั้นอยู่ในรูปแบบของภาษา XML ซึ่งจะทำให้ Bot หรือ Spider ของ Search Engine สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ว่านี้คือ Sitemap 

ตัวอย่างของ Sitemap ในรูปแบบ XML เช่น 
  • http://www.sutenm.com/sitemap.xml 
  • http://seo.siamsupport.com/sitemap.xml 
          ส่วน Sitemap สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปควรจะเป็นหน้าที่เรียบง่าย สามารถดูแล้วเข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ทั้งหมดได้ว่าเว็บไซต์มีอะไรบ้าง โดยควรให้เว็บไซต์ดูเรียบง่าย สวยงาม และให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงหน้า Sitemap นี้ได้โดยง่าย 


ตัวอย่างเช่น
  • http://www.sutenm.com/sitemap-page/ 
  • http://www.google.com/sitemap.html


RSS Feed คืออะไร ?

          ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บบล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้ 

        RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Update ไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา 

ข้อดีของ RSS

        RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

จุดเด่นของ RSS

        คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์ 

          ดังนั้นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) ในขั้นตอนนี้ จะช่วยให้เว็บไซต์มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้ข้อมูลต่างๆที่แสดงอยู่บนเว็บไซต์สามารถอัพเดตได้อยู่ตลอดเวลาอีกด้วย


ขั้นตอนที่ 5 : เครื่องมือค้นหาข้อมูลและการยอมรับการจัดหมวดหมู่ (Search Engine + Directory Submission)


Search Engine คืออะไร ?

        Search Engine คือ เครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ด้วยคำค้นต่างๆ ซึ่งข้อมูลนั้น อาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดีย ไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้ 

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้ 
  • http://www.google.com
  • http://www.yahoo.com
  • http://www.live.com
  • http://www.bing.com
  • http://www.ask.com


กระบวนการทำงานของ Search Engine

          โดยปกติแล้ว Search Engine จะมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Robot (หุ่นยนต์) ในการสืบค้นเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยการทำ Index โดย Robot จะเดินทางจากเว็บหนึ่ง ไปอีกเว็บหนึ่งผ่าน Hyperlink ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้นๆ 

การเรียงลำดับการค้นหาข้อมูล

          Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น


Directory คืออะไร ?

          Directory บางทีเรียกว่า Link Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เว็บ Directory บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engine ในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ 

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
  • http://www.dmoz.org/ 
  • http://www.directory-index.net/ 
          คือ ถ้ามีผู้สนใจคลิกเลือกรายงานต่างๆ ใน directory ที่จัดสร้างขึ้น จะมีการนำข้อมูลออกมาแสดงผล ตัวอย่างเช่น sanook.com, siamguru.com เป็นต้น

          ดังนั้น หลังจากที่เว็บไซต์ถูกจัดอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องแล้ว เว็บไซต์จะถูกส่งไปยังเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ซึ่งมีมากกว่า 500 เครื่องมือค้นหาข้อมูล โดยให้ทำการลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์และดัชนีบนหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด นอกจากนี้ การจัดทำ Directory ยังช่วยให้เว็บไซต์ถูกจัดเป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหา และยังส่งผลดี คือให้มีการเชื่อมโยงกลับมายังเว็บไซต์ การปรับปรุงการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine)ความสำคัญของเว็บไซต์ที่มีต่อประชาชน และการจัด Directory ยังสามารถทำหน้าที่เป็น Search Engine ในตัวเองอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 6 : เครือข่ายสังคม (Social Book Marking)


          Social Book Marking ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเมื่อโฆษณาเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กับรายการเว็บไซต์บนเว็บ เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบและสามารถใช้เว็บได้ในภายหลังเมื่อมีความต้องการ และยังสามารถช่วยจัดอันดับของเครื่องมือค้นหาข้อมูลได้อีกด้วย 

          Social Book Marking ถูกกำหนดโดยวิกิพีเดียเป็นวิธีการสำหรับให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทำการจัดเก็บ ,จัดระเบียบ, ค้นหา, และจัดการบุ๊คมาร์คของหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ต 

ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่าง Social Book Marking และ SEO คือ
  • อาจได้รับลิงก์ย้อนกลับเมื่อทำการบุ๊คมาร์คบนหน้าเว็บไซต์
  • การ bookmarking หน้าใหม่หรือโพสต์บล็อกใหม่บนเว็บไซต์สามารถช่วยให้ได้หน้าเว็บที่จัดทำดัชนีในเครื่องมือค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
  • เว็บไซต์บุ๊คมาร์คช่วยให้สามารถใช้แท็ก เพื่อแสดงรายการคำหลักในแท็กและช่วยให้มีการจัดอันดับจากคำหลักเหล่านี้ 

ตัวอย่าง เว็บไซต์ Social Book Marking ที่ได้รับความนิยม
  1. Digg 
  2. Del.icio.us
  3. StumbleUpon
  4. Reddit
  5. Squidoo
  6. Furl
  7. BlinkList
  8. Blogmarks.net
  9. Ma.gnolia
  10. Simpy
  11. Spurl
  12. BlinkBits
  13. Shadows
  14. Raw Sugar 
  15. Yahoo MyWeb

ขั้นตอนที่ 7 : บล๊อกและการสร้างข่าว (Blogs + Press Release Creation) 


Blog คืออะไร ?

          Blog ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ 

          ในปัจจุบันบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ของโลก ได้ให้ความสนใจ Blog ซึ่งเป็นรูปแบบของการ Marketing แบบใหม่ เนื่องจาก Blogger จะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้อ่าน Blog สูงมาก เนื่องจากทั้งสองฝ่าย สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรง 

          บางบริษัทใช้ Blog เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร หรือ PR ข่าวสารขององค์กร โดยการใช้ Blog เพื่อประกาศข่าวสารนั้น จะดูมีความเป็นกันเอง และเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเป็นมิตร เพราะเนื่องจากลูกค้าสามารถฝาก comment หรือสื่อสารกับเจ้าของ Blog ได้ทันที ทำให้บริษัทเอง จะได้ประโยชน์จากคำแนะนำ ที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างๆ จึงเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาด โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเอง ซึ่งวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาด โดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วย 

    จากความสำคัญดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้บล๊อก (Blog) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) ช่วยให้เว็บไซต์ถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ เหนือเว็บไซต์ของคู่แข่ง 


ความสัมพันธ์ระหว่าง Blog และ SEO มีดังนี้

          การสร้างบล๊อก (Blog) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากของกลยุทธ์กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือโต้ตอบความต้องการต่างๆลงในบล๊อกที่ถูกสร้างขึ้น และยังสามารถสร้างหัวข้อที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างกลุ่มคนหลายๆกลุ่ม การแลกเปลี่ยนบทสนทนา การพูดคุย และการอภิปรายในสังคมออนไลน์ ซึ่งข้อดีอีกประการหนึ่งคือช่วยในการดึงดูดให้มีผู้ใช้งานหรือผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น 

          นอกจากนี้ การปรับปรุงหรือการเพิ่มเนื้อหาที่มีคุณภาพดีและเนื้อหาที่น่าสนใจไปยังเว็บไซต์อยู่เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นให้เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) มีการเชื่อมโยงกลับมาที่เว็บไซต์ และช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เกิดความความจงรักภักดี ดังนั้น การตั้งค่าบล็อกหรือส่วนข่าวบนเว็บไซต์ จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายที่สุดในการส่งเสริมการจัดอันดับให้เว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆ


ขั้นตอนที่ 8 : การเขียนบทความ (Articles Submission) 


          ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับการเขียนบทความเพื่อนำเสนอการบริการหรือสินค้าของเว็บไซต์ แล้วทำการส่งบทความไปที่เว็บไซต์บทความต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้งานที่แตกต่างกันเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง และเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) สามารถรู้และสื่อสารกับบทความแล้วเชื่อมโยงกลับมายังเว็บไซต์ได้ 

โดยประโยชน์ของการเขียนบทความมีดังนี้
  • สามารถสื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมายและมีคุณภาพสูง เพิ่มโอกาสสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 
  • มีโอกาสขายสินค้าหรือบริการได้มากกว่าวิธีการโฆษณาอื่นๆ 
  • มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีบน search engines ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo, Bing ตาม keyword ที่ได้เลือกเอาไว้ 
  • การสื่อสารจะเพิ่มขึ้นทุกเดือนทั้งจาก search engines เองและ article directories


ขั้นตอนที่ 9 : การเชื่อมโยงเพื่อเป็นที่นิยม (Link Popularity) 


Link popularity คืออะไร ?

          Link popularity เป็นค่าที่บอกจำนวนว่ามีกี่เว็บไซต์ หรือกี่เว็บเพจของเว็บไซต์อื่นๆ ที่เชื่อมโยงลิงก์มายังเว็บไซต์ของเรา

ตัวอย่างของ Link popularity

ยกตัวอย่าง Link popularity ของเว็บไซต์ http://truehits.net มีค่าเป็นเท่าไร ?

1. Google ใช้การค้น เป็น link:truehits.net ดังรูป


2. MSN ใช้การค้น เป็น link:truehits.net ดังรูป


3. Yahooใช้การค้น เป็น link:http://truehits.net ดังรูป



ความสำคัญของ Link popularity ที่มีต่อ SEO

     การเชื่อมโยง (Link) มีความสำคัญต่อการเพิ่มการจัดอันดับของเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) เพราะการเชื่อมโยงจะทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกลับมายังเว็บไซต์ และหากสร้างการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เว็บไซต์ได้รับผลที่ดีอย่างมาก การสร้างการเชื่อมโยงสามารถสร้างขึ้นในรูปแบบของความเห็นในบล็อก ,ส่งบทความและข่าวประชาสัมพันธ์ ,Social book marking เป็นต้น 


         ถ้าหากเว็บไซต์มี Link popularity สูงจากเว็บไซต์อื่น ๆ ที่มีสถิติผู้เยี่ยม นั่นจะทำให้เว็บไซต์ถูกค้นหาเจอได้ ง่าย ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านั้นที่ลิงก์มายังเว็บไซต์ และเพิ่มโอกาสที่เครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) จะเข้ามาสำรวจเว็บไซต์ของเราบ่อยขึ้น และทำให้เว็บไซต์ของเรามีสถิติผู้เยี่ยมชมเพิ่มขึ้นได้ด้วย 

        ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับ Link popularity ว่าจะจัดอันดับเว็บไซต์คุณอยู่อันดับที่เท่าไร เมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆ หากเว็บไซต์ของเรามี Link popularity สูง ก็มีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าหรือดีกว่าเว็บไซต์ที่มี Link popularity ที่ต่ำกว่า


ขั้นตอนที่ 10 : รายงานผลเครื่องมือค้นหาข้อมูล SERP Report (Search Engine Results Pages)


          การรายงานผลเครื่องมือค้นหาข้อมูล คือ รายงานการจัดอันดับและการวิเคราะห์ซึ่งเป็นรายงานสถิติที่ช่วยให้ทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับโครงการกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization process) รายงานการวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ การสื่อสารกับผู้ใช้งานออนไลน์ที่เข้ามาเชื่อมโยง การจัดอันดับของเว็บไซต์ และการเปรียบเทียบการจัดอันดับกับคู่แข่ง โดยการจัดอันดับจะอาศัยคำหลัก (Keyword) ในการจัดอันดับ 

ตัวอย่างเว็บไซต์ การจัดอันดับของเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ได้แก่ Google Bing Yahoo!

ที่มา : http://www.searchenginereports.net/#




แหล่งที่มาของข้อมูล :

http://visionitsolutions.com.au/search-engine-optimization-company.html
http://i-link-solutions.com/seo-process.html
http://www.mediaprecision.co.uk/ten-steps-of-seo.html
http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_10/pdf/aw14.pdf
http://seofriendlywebsitedevelopment.blogspot.com/2010/06/initial-analysis-helps-while-starting.html
http://www.beboyzself.com/search-engine-optimization-process/
http://www.plusautomation.com/search-engine-optimization-seo/keyword-research-analysis.htm
http://dvision.in.th/what-to-know/xml-sitemap.html
http://www.sutenm.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD/
http://tech-it-today.blogspot.com/2009/05/feed-rss.html
http://www.workboxs.com/thai/online-marketing/search-engine.html
http://seo.siamsupport.com/blog/web-directory/
http://www.3stepstosearchenginesuccess.com/seo-tips/social-bookmarking-seo
http://www.bigoakinc.com/blog/social-bookmarking-seo-tip-week-8/
http://apavadee771.blogspot.com/2012/06/weblog.html
http://truehits.net/faq/webmaster/seo/link_popularity.php
http://www.searchenginereports.net/#

2 ความคิดเห็น: