ไมโครซอฟท์
เปิดตัว Microsoft .NET พร้อมก้าวสู่อินเทอร์เน็ตยุคใหม่
|
||
แนวความคิดใหม่จากไมโครซอฟท์ที่ใช้เทคโนโลยี
XML
ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดได้อย่างแท้จริง |
||
ไมโครซอฟท์ ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีแนวใหม่
“Microsoft
.NET” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี
XML และจะเป็นกลจักรสำคัญที่จะปฏิวัติวงการ
พร้อมทั้งบริการและเครื่องมือที่จะผสมผสานคอมพิวเตอร์กับการสื่อสารเข้าด้วยกันในรูปแบบใหม่
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค พนักงานที่มีความรู้ความชำนาญ (Knowledge
Worker) และนักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางอุปกรณ์ใดๆ
ได้ทุกเวลาและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
การที่ไมโครซอฟท์และบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี Extensible Mark-up Language หรือ XML ที่เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานบนอินเตอร์เน็ตที่ได้รับการเสนอเข้า World Wide Web Consortium รวมถึงการใช้โปรโตคอล (SOAP) ล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ XML จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้น มีความเป็นอิสระมากขึ้น จนผู้ใช้บริการสามารถจัดการ แก้ไขข้อมูลที่ต้องการได้ รวมทั้งยังเป็นการกระจายข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิจิทั่ลต่างๆ ในรูปแบบที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เว็บไซต์และบริการบนเว็บไซต์มีความยืดหยุ่น สามารถทำงานร่วมกันได้
แนวคิดหลักในการสร้าง
Microsoft .NET คือ ความพยายามในการเปลี่ยนแนวจากการสร้างเว็บไซต์แต่ละแห่งให้เป็นอิสระจากกันหรือการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ
ให้เชื่อมต่อกันบนอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้
ก็เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกวิธีการ เวลา และประเภทของข้อมูลที่ต้องการ
ตลอดจนสามารถกำหนดขอบเขตและควบคุมข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตได้
แม้แต่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ใครเข้ามาดูของตนหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น
ในยุคอินเทอร์เน็ตโฉมใหม่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
และบริการทุกชนิดสามารถเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ จึงก่อให้เกิดบริการที่หลากหลาย
กว้างขวางมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งต่างจากในปัจจุบันที่บริการ
หรือข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตแต่ละอย่าง เป็นอิสระจากกันโดยสิ้นเชิง
เสมือนเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ห่างกันในทะเลกว้าง
และผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้ที่เชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือบริการ
เหล่านั้นเอง
บริการใน Microsoft .NET ประกอบด้วย
building blocks หรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ การบ่งบอกตัวบุคคล (Identity), การแจ้งและรับ-ส่งข้อมูล (Notification and Messaging), การกำหนดรูปแบบ ลักษณะ และการรับข้อมูล ตามที่แต่ละคนต้องการ (Personalisation), Schematised Storage, ปฏิทิน (Calendar), ทำเนียบข้อมูล (Directory), การค้นหาและกระจายซอฟต์แวร์ (Search and Software Delivery) หรือระบบ Dynamic Delivery ซึ่งการทำงานเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารใช้งานได้ตามความต้องการมากขึ้นพร้อมทั้งมีการสื่อสารโต้ตอบได้อย่างฉับพลันมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้น Microsoft .NET building block นั้นมีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ และบนแพลตฟอร์มทุกชนิด ที่ใช้เทคโนโลยี XML อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะเป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างและให้บริการอินเทอร์เน็ต ขณะเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็สามารถกระจายบริการอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ได้สะดวก
องค์กรธุรกิจจะสามารถนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์บนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่ผู้บริโภคจะสามารถเข้าถึงได้สะดวกไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดๆ
นายพีระพงษ์กล่าวว่า “ในอนาคต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากจะเข้ามาดึงข้อมูลและทำกิจกรรมต่างๆ ประจำวัน
โดยอาศัยบริการอินเทอร์เน็ตที่ใช้ประจำ และใช้อุปกรณ์อื่นๆ
ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พอคเก็ตพีซี โทรทัศน์
หรืออุปกรณ์ที่มีความสามารถในการทำคอมพิวติ้งใหม่ๆ เป็นต้น
แพลตฟอร์ม .NET ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความสามารถของบริการอินเทอร์เน็ตที่องค์กรธุรกิจที่ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวในการพัฒนาซอฟต์แวร์และอื่นๆ
เท่านั้น แต่ยังช่วยให้องค์กรธุรกิจขนากเล็กที่เกิดใหม่ให้ประสบความสำเร็จในการค้นหาซัพพลายเออร์จากทั่วโลกได้โดยผ่านบริการทางอินเทอร์เน็ต
ขณะเดียวกัน
ผู้ให้บริการด้านข้อมูลจะมีบทบาทมากขึ้นในการปรับการนำเสนอข้อมูล
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแต่ละรายมากขึ้น
เช่นในธุรกิจที่เกี่ยวกับสาธารณสุข สถาบันการเงินและธนาคาร
จะสามารถให้และรับข้อมูลตามที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการได้
ขณะที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการ
จากอุปกรณ์ที่สามารเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ไม่ว่าตนจะอยู่ที่ใดก็ตาม
สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น ไมโครซอฟท์ กำลังสร้างสรรค์เครื่องมือใหม่สำหรับ Microsoft .NET ที่เรียกว่า Microsoft
.NET Enterprise Server ซึ่งจะประกอบด้วย Microsoft SQL
Server 2000, Microsoft Exchange 2000, BizTalk Server 2000, Commerce Server
2000, Application Center 2000 และ Windows 2000 ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน
สามารถเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ที่ค่อนข้างตายตัว
มาเป็นเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถให้บริการหลากหลายได้
ชุดเครื่องมือ
Visual Studio จากไมโครซอฟท์นั้น
จะใช้เป็นหลักในการสร้างซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยี XML และเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างแอพพลิเคชั่นที่จะสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการสร้างบริการที่กระจายได้อย่างทั่วถึง
และทำงานได้บนอุปกรณ์ทุกชนิด ทั้งภายในศูนย์ข้อมูลขององค์กรและบนอินเทอร์เน็ต
พันธมิตรของไมโครซอฟท์ที่ใช้แพลตฟอร์ม
.NET จะได้รับประโยชน์มากมาย ได้แก่
การขยายขอบเขตการใช้งานของแอพพลิเคชั่น
เพราะเทคโนโลยีใหม่จะช่วยให้สามารถใช้อุปกรณ์ได้หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น
ลูกค้าของพันธมิตรเหล่านี้ จะเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเว็บไซต์ของตนได้มากขึ้น
อันจะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ บริษัทใหม่ๆ
ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะสามารถพัฒนาบริการให้ดีขึ้นและมากขึ้นได้
ขณะเดียวกันการใช้อินเทอร์เน็ตก็จะมีระบบจัดการอัตโนมัติ
และการโต้ตอบฉับพลันไว้บริการมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย ไมโครซอฟท์จะเปิดตัวแพลตฟอร์ม .NET
อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในงาน ไอทีเทรด
2000 ซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดเด่นของงานดังกล่าว
และจากนั้น บริษัทฯ จะแนะนำแพลตฟอร์มดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ในงานสัมมนาหรือจัดกิจกรรมการตลาด เพื่อสร้างความตื่นตัวและความพร้อมในตลาด
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะได้รับบริกาทางอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ
ราบรื่นหากมีการจัดระบบ และโครงสร้างพื้นฐาน ในการให้บริการเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม
ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกอย่างเพื่อให้รองรับแพลตฟอร์มใหม่นี้ได้
นายพีระพงษ์กล่าวว่า “เมื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยจะมีโอกาสได้ใช้ผลิตภัณฑ์ไฮเทคมากมายที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคเอง
และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจไทยได้อีกด้วย”
|
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น